การตั้งสมมติฐาน
คือ การทำนายผล การคาดเดาเหตุการณ์ หรือการคิดคำตอบล่วงหน้า อย่างมีเหตุมีผล โดยอาศัยหลักการ ความรู้ หรือประสบการณ์เดิมที่มีอยู่
หลักเกณฑ์การตั้งสมมติฐาน
- ต้องเป็นข้อความที่บอกความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต้นกับตัวแปรตาม
- ใน 1 ปัญหา อาจมีหลายสมมติฐานได้ และสมมติฐานอาจจะผิดหรือถูกก็ได้
- มักใช้คำว่า "ถ้า...........ดังนั้น"
ตัวอย่างการตั้งสมมติฐาน
1. ชื่อเรื่อง : เปรียบเทียบการเจริญเติบโตของถั่วงอกที่ปลูกกลางแจ้งและปลูกในที่ร่ม
ตัวแปรต้น : การปลูกถั่วงอกกลางแจ้งและปลูกในร่ม
ตัวแปรตาม : การเจริญเติบโตของถั่วงอก
สมมติฐาน : ถั่วงอกที่ปลูกกลางแจ้งจะเจริญเติบโตได้ดีกว่าถั่วงอกที่ปลูกในที่ร่ม
2. ชื่อเรื่อง : เปรียบเทียบการเจริญเติบโตของถั่วงอกที่ปลูกกลางแจ้งและปลูกในที่ร่ม
ตัวแปรต้น : แสงแดด
ตัวแปรตาม : การเจริญเติบโตของถั่วงอก
สมมติฐาน : ถ้าแสงแดดมีผลต่อการเจริญเติบโตของถั่วงอก ดังนั้นถั่วงอกที่ปลูกกลางแจ้งจะเจริญเติบโตได้ดี
แบบฝึกหัด
ให้นักเรียนพิจารณาสถานการณ์ต่อไปนี้ แล้วทำลงในสมุด
ในการเข้าค่ายลูกเสือ ครูผู้กำกับลูกเสือให้ลูกเสือแต่ละหมู่ทำการหุงข้าว ลูกเสือแต่ละหมู่ก็ต่างทายกันว่าข้าวของหมู่ใดจะสุกก่อนกัน
นักเรียนคิดว่าอะไรคือตัวแปรต้น ที่จะทำให้ข้าวสุกไม่พร้อมกันได้บ้างให้บอกมา 4 อย่าง
1..................................................
2..................................................
3..................................................
4..................................................
ให้นักเรียนตั้งสมมติฐานเกี่ยวกับตัวแปรแต่ละตัวด้วย
1..................................................
2..................................................
3..................................................
4..................................................
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น