การตั้งประเด็นปัญหา การคิดหัวข้อ
ในการฝึกตั้งประเด็นปัญหาและการคิดหัวข้อ นักเรียนสามารถมองปัญหาที่อยู่ใกล้ตัวนักเรียนมากที่สุด นั่นคือ ความสงสัยของตนเอง ลองดูว่าตัวนักเรียนเองเคยสงสัยหรืออยากรู้เกี่ยวกับเรื่องอะไรเป็นพิเศษหรือไม่ เช่น สำหรับผู้ชายอาจจะสนใจในเรื่องกีฬา ก็อาจจะสงสัยถึงวิธีการเตะลูกฟุตบอลยังไงให้มีการโค้ง หรือสำหรับผู้หญิง ก็อาจจะสนใจในเรื่องความสวยงามของใบหน้า ก็อาจจะสงสัยว่าอะไรบ้างเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดสิว เป็นต้น
นอกจากนั้นในการฝึกตั้งประเด็นปัญหาและการคิดหัวข้อ นักเรียนอาจลองหาบทความหรือข่าวในหนังสือพิมพ์ หรือจากสื่อต่างๆ มาอ่านแล้วลองตั้งประเด็นปัญหาที่นักเรียนสงสัยในบทความหรือข่าวนั้นๆ
สรุปแหล่งที่มาของการตั้งประเด็นปัญหา และการคิดหัวข้อ
- จากความช่างสงสัยของตนเอง
- จากการสังเกตสิ่งต่างๆรอบตัว
- จากการพูดคุยกับบุคคลอื่นๆ
- จากงานอดิเรกของตนเอง
- จากการไปเยี่ยมชม หรือไปเที่ยวตามสถานที่ต่างๆ
- จากการอ่าน
การกำหนดชื่อเรื่อง
เมื่อนักเรียนพบประเด็นปัญหาที่สนใจแล้ว ให้นักเรียนนำมากำหนดชื่อเรื่อง โดยชื่อเรื่องที่ถูกต้องตามหลักวิชาการนั้นจะประกอบด้วย 2 องค์ประกอบที่สำคัญคือ
- วิธีการ คือ ในชื่อเรื่องควรมีการบอกวิธีการที่นักเรียนใช้ในการศึกษาประเด็นปัญหานั้น โดยสามารถใส่คำเหล่านี้ในชื่อเรื่อง เช่น
- การสำรวจ
- การประเมิน
- การศึกษา
- การพัฒนา
- การเปรียบเทียบ
- ความสัมพันธ์ระหว่าง
- ตัวแปร หรือ เครื่องมือ
- ตัวแปร แบ่งเป็น
- ตัวแปรต้น คือ สิ่งที่จะทำให้เกิดสิ่งอื่นตามมา หรือเป็นต้นเหตุ
- ตัวแปรตาม คือ สิ่งที่จะเปลี่ยนตามตัวแปรต้น หรือเป็นผลที่ตามมา
- ตัวแปรควบคุม คือ สิ่งที่จะต้องควบคุมในการทำการทดลองหรือศึกษา
- การศึกษาการเจริญเติบโตของถั่วเหลืองที่ปลูกโดยใช้ดินวิทยาศาสตร์
- จากชื่อเรื่องนี้จะเห็นว่าการเจริญเติบโตของถั่วเหลืองจะดีหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับดินวิทยาศาสตร์ ดังนั้น
- ตัวแปรต้น คือ ดินวิทยาศาสตร์
- ตัวแปรตาม คือ การเจริญเติบโตของถั่วเหลือง
- ตัวแปรควบคุม คือ แสงแดด การดูแล ฯลฯ
ตัวอย่างชื่อเรื่องที่มีองค์ประกอบครบทั้ง 2 องค์ประกอบ
- การสำรวจความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อระบบแลกคูปองในโรงอาหาร
- การประเมินความสะอาดห้องเรียนจากกิจกรรม Big Cleaning Day
- การศึกษาการทำโคมไฟจากกล่องนม
- การเปรียบเทียบการเจริญเติบโตของถั่วเหลืองระหว่างการปลูกด้วยดิน กับดินวิทยาศาสตร์
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น